วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

วิธีการ ซื้อรถมือสอง

 1.ภายนอก 

เริ่มดูกันตั้งแต่รูปทรงของตัวรถว่าบิดเพี้ยนไปหรือไม่ให้ดูว่าตัวรถมีรูปทรงบุบหรือเสียรูปทรงหรือไม่

เน้นดูตาม กันชนหน้า ไฟหน้า ฝากระโปรง ต้องให้อยู่ในแนวที่ขนานกันช่องว่างระหว่างตัววัสดุต้องไม่ชิดหรือเสียรูป

ไป เช่นไฟหน้าใหม่ข้าง เก่าข้าง ฝากระโปรงไม่นูนหรือเสียรูป หลังคารถให้ดูแนวโค้งของตัวหลังคาว่าบุบหรือเสี

ยรูปหรื่อไม่ เสาหน้า เสากลาง เสาหลัง ว่ามีเสาบิดหรือไม่ได้รุปทรงหรือไม่ กันชนหลังให้ดูแนวความตรงของกันชน 

ฝากระโปรงหลัง ว่าแนวช่องว่างขนานกันหรือไม่ 

สีของตัวรถต้องเรียบเนียน ความเสมอของเนื้อสี ตำหนิต่างๆที่เป็นจุดสังเกตเพื่อให้เป็นข้อสันนิษฐานของตัวรถว่า

เหตุที่ทำสีนี้เกิดจากอะไร ชนหนักมา หรือแต่เก็บรอยขูดขีดธรรมดา

2.ภานใน

ภายในนั้นดูไม่ยากครับ ให้ดูสีของตัวเบาะว่าสีเสมอกันมั้ย ความสะอาด รอยยับ การใช้โดยที่ต้องไม่โทรมเอาให้ที่

เรารับได้เป็นอันใช้ได้ ครับ

3.ช่วงล่างและยาง 

เริ่มต้นให้เริ่มดูที่ตัวยางรถ ว่าสภาพยางเป็นอย่าง เช่นมีรอยฉีกขาด รอยร้าว ดอกยาง ความลึกของร่องยาง และปี

ของยางว่ายังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานต่อได้มั้ย เพราะยางนั้นถือเป็นอะไหล่สิ้นเปลืองทางศูนย์รถมือสองก็อาจจะไม่

เปลี่ยนให้

ตัวช่วงล่าง ให้หาดูรอยรั่วซึม ต่างๆ ถ้าเป็นไปได้ให้ลองหมุนล้อดู หรือทดลองขับ เวลาทดลองขับให้เน้นฟัง

เสียงว่ามีเสียงตรงไหนผิดปกติหรือไม่ ดูการยึดเกาะถนนว่ารถโยนหรือไม่ วิ่งผ่านลูกระนาดแล้วมีเสียงกระแทกของ

โช๊คอัพหรือไม่ 

4.ระบบไฟฟ้า

ในส่วนของตัวนี้เช็คไม่ยากครับ ให้ทดลองเปิดการทำงานของระบบโดยที่เปิดไม่อยากโดยให้เราถามจากทางผู้

ขายได้เลย แล้วเราก็จะทราบว่าอุปกรณ์ไหนใช้ได้ 

5.เครื่องยนต์

ส่วนของเครื่องยนต์เป็นอะไรที่อยากที่สุดเพราะหัวใจของรถก็คือเครื่องยนต์ รับซื้อรถยนต์ การดูนั้นต้องอาศัยประสบการณ์อย่างมาก แต่วันนี้มีแนะนำการดูเครื่องยนต์ง่ายๆมานำเสนอครับ 

เริ่มจากหาดูรอยรั่วซึมของตัวเครื่องยนต์ อาการของเครื่องยนต์ ว่ามีการกระตุกหรือไม่ สั่นแรงเกินไปหรือป่าวเสียงที่ตัวเครื่องดังเกินไปมั้ย โดยเปรียบเทียบง่ายจากรถรุ่นเดียวกันเลย โดยให้สตาร์ทเครื่องยนต์ที่ละคันแล้วเปรียบเทียบอาการดังที่กล่าวต้นได้เลยครับ

6.เกียร์

ส่วนการทดลองเกียร์ ให้เริ่มจากสตาร์ทเครื่องแล้วลองเข้าเกียร์ รับซื้อรถมือสอง เกียร์จะต้องไม่มีการกระตุกหรือให้เราเข้าเกียร์แล้วเหยียบเบรคข้างไว้แล้วเร่งเครื่องไปที่ 2,000รอบ เพื่อเป็นการทดสอบเกียร์โดยรอบ เครื่องยนต์ต้องไม่กระชาก ถือว่าเกียร์ปกติแล้วปล่อยคันเร่งแต่ถ้ารอบเครื่องยนต์ขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง 2,000-2,500 รอบอันนี้แสดงว่า คลัทซ์มีปัญหาแล้วครับ 

7.ระบบบังคับเลี้ยว

ให้เราสตาร์เครื่องยนต์แล้วลองโยกพวงมาลัยดูแล้วให้สังเกตเสียงของพวงมาลัย หรือการหมุนว่ามีว่ามีอาการติดหรือ

กระตุกหรือไม่ หรือหนักเกินไปไหม ถ้ามีไม่อาการก็อถือว่าปกติ

8.เอกสารของตัวรถ 

เล่มรถ โดยให้ดูว่าเจ้าของกี่ลำดับ และที่หน้า18 ก็จะมีการบันทึกประวัติไว้ให้สังเกตดู2จุดนี้

ชุดโอน ว่าลูกค้าท่านเก่าได้เซ็นต์โอนไว้หรือป่าว 

Book service เพราะรถแต่ละคันจะมีBook service อยู่ ถ้ามีตัวนี้ก็จะทำให้เราง่ายต่อการเช็คประวัติรถคันนั้น

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ซื้อ-ขาย รถมือสอง ต้องใช้เอกสารใดประกอบบ้าง??

 



คิดจะขายรถยนต์ตัวเองสักคัน เรื่องสำหรับอย่างเอกสารซื้อขายรถมือสองต้องห้ามพลาด มีอะไรบ้างที่ต้องเตรียมไว้ให้ดี จะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง การขายรถยนต์ให้กับเต้นท์รับซื้อรถยนต์ แบ่งออกเป็น 4 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1.รถจดเป็นชื่อบุคคลธรรมดาและไม่ติดไฟแนนซ์

1.1 สำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ถ้าจะให้ปลอดภัยก็ควรจะขีดคร่อมพร้อมเซ็นกำกับว่า “ใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับรถยนต์เลขทะเบียน.....เท่านั้น” ใส่เลขทะเบียนรถที่จะขายตรงจุดไข่ปลาได้เลยตามตัวอย่างด้านล่างครับ ขออนุญาติปิดชื่อกับลายเซ็นของเจ้าของบัตรเอาไว้นะครับ หากเจ้าของรถมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล และในสมุดคู่มือจดทะเบียนยังเป็นชื่อ-นามสกุลเดิมอยู่ ต้องใช้ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุลแนบด้วย

1.2 แบบคำขอโอน 1 ใบ ผู้ขายเซ็นตรงผู้โอน

1.3 หนังสือมอบอำนาจ 1 ใบ ผู้ขายเซ็นตรงผู้มอบอำนาจ ถ้าจะให้ปลอดภัยก็ควรจะเขียนจุดประสงค์ในการมอบอำนาจว่า “ใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับรถยนต์เลขทะเบียน.....เท่านั้น” ใส่เลขทะเบียนรถที่จะขายตรงจุดไข่ปลาให้เหมือนในสำเนาบัตรประชาชน ส่วนบรรทัดที่เหลือให้ขีดคร่อมไปทั้งหมด

1.4 สมุดคู่มือจดทะเบียนเจ้าของรถต้องเซ็นในช่องผู้ถือกรรมสิทธิ์ด้วยนะครับ

1.5 สัญญาซื้อขาย ต้องเป็นแบบที่มีฉบับสำเนาด้วย เพราะผู้ซื้อและผู้ขายต้องเก็บไว้คนละชุด และต้องมีสำเนาบัตรประชาชนผู้ซื้อ-ผู้ขายเซ็นสำเนาถูกต้องแนบสัญญาไว้ด้วย

กรณีที่ 2.รถจดเป็นชื่อบุคคลธรรมดาและติดไฟแนนซ์

2.1 สำเนาบัตรประชาชน 3 ใบ ให้เซ็นเหมือนกับรถที่ไม่ติดไฟแนนซ์ หากเจ้าของรถมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล และตอนที่ทำเรื่องขอสินเชื่อยังเป็นชื่อ-นามสกุลเดิมอยู่ ต้องใช้ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุลแนบด้วย แล้วลายเซ็นที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องต้องเหมือนในคู่สัญญาที่ทำไว้กับไฟแนนซ์นะครับ จะเซ็นเป็นสองลายเซ็นก็ได้ครับ ทั้งเก่า ทั้งใหม่

2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน 3 ใบ พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง

2.3 แบบคำขอโอน 2 ใบ ผู้ขายเซ็นตรงผู้โอน 1 ใบ และผู้ขายเซ็นตรงผู้รับโอน 1 ใบ ผู้รับโอนต้องเซ็น 2 ที่นะครับ

2.4 หนังสือมอบอำนาจ 3 ใบ ให้เซ็นเหมือนกับรถที่ไม่ติดไฟแนนซ์

2.5 ส่วนสมุดคู่มือจดทะเบียนจะยังไม่มี เพราะยังอยู่ที่ไฟแนนซ์ เราต้องไปปิดไฟแนนซ์ก่อน แล้วไฟแนนซ์จะไปดำเนินการโอนให้กับเจ้าของรถ หลังจากได้เล่มมาแล้วเจ้าของรถค่อยเอามาเซ็นตรงผู้ถือกรรมสิทธิ์ แล้วค่อยเอาไปให้ผู้ซื้ออีกที แต่จะใช้เงินใครปิดนั้นต้องให้ผู้ซื้อ ผู้ขายตกลงกันเอง แต่ทั่วไปควรจะเป็นเงินผู้ซื้อนะครับ

2.6 สัญญาซื้อขาย ต้องเป็นแบบที่มีฉบับสำเนาด้วย เพราะผู้ซื้อและผู้ขายต้องเก็บไว้คนละชุด และต้องมีสำเนาบัตรประชาชนผู้ซื้อ-ผู้ขายเซ็นสำเนาถูกต้องแนบสัญญาไว้ด้วย อันนี้ย้ำเลยนะครับว่าห้ามลืม

กรณีที่ 3.รถจดเป็นชื่อนิติบุคคลและไม่ติดไฟแนนซ์

3.1 สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท 1 ใบ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ถ้าจะให้ปลอดภัยก็ควรจะขีดคร่อมพร้อมเซ็นกำกับว่า “ใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับรถยนต์เลขทะเบียน.....เท่านั้น” ใส่เลขทะเบียนรถที่จะขายตรงจุดไข่ปลาได้เลยครับ

3.2 แบบคำขอโอน 1 ใบ ผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทเซ็นตรงผู้โอนพร้อมประทับตราบริษัท

3.3 หนังสือมอบอำนาจ 1 ใบ ผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทเซ็นตรงผู้มอบอำนาจพร้อมประทับตราบริษัท ถ้าจะให้ปลอดภัยก็ควรเขียนระบุวัตถุประสงค์ในการมอบอำนาจว่า “ใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับรถยนต์เลขทะเบียน.....เท่านั้น” ใส่เลขทะเบียนรถที่จะขายตรงจุดไข่ปลาให้เหมือนในสำเนาบัตรประชาชน ส่วนบรรทัดที่เหลือให้ขีดคร่อมไปทั้งหมด

3.4 สมุดคู่มือจดทะเบียน ผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทต้องเซ็นในช่องผู้ถือกรรมสิทธิ์พร้อมประทับตราบริษัทด้วยนะ ตามตัวอย่างด้านล่าง ขออนุญาติปิดชื่อกับตราประทับไว้นะครับ

3.5 สำเนาหนังสือจดทะเบียนบริษัททุกหน้า พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องพร้อมประทับตราบริษัททุกหน้า

3.6 สัญญาซื้อขาย

กรณีที่ 4.รถจดเป็นชื่อนิติบุคคลและติดไฟแนนซ์

4.1 สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท 3 ใบ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ถ้าจะให้ปลอดภัยก็ควรจะขีดคร่อมพร้อมเซ็นกำกับว่า “ใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับรถยนต์เลขทะเบียน.....เท่านั้น” ใส่เลขทะเบียนรถที่จะขายตรงจุดไข่ปลาได้เลยครับ

4.2 สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท 3 ใบ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง

4.3 แบบคำขอโอน 2 ใบ ผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทเซ็นตรงผู้โอนพร้อมประทับตราบริษัท 1 ใบ และ ผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทเซ็นตรงผู้รับโอน 2 ที่พร้อมประทับตราบริษัท (ต้องประทับทั้ง 2 จุดตรงที่เซ็นชื่อ) อีก 1 ใบ

4.4 หนังสือมอบอำนาจ 3 ใบ ผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทเซ็นตรงผู้มอบอำนาจพร้อมประทับตราบริษัท ถ้าจะให้ปลอดภัยก็ควรจะเขียนจุดประสงค์ในการมอบอำนาจว่า “ใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับรถยนต์เลขทะเบียน.....เท่านั้น” ใส่เลขทะเบียนรถที่จะขายตรงจุดไข่ปลาให้เหมือนในสำเนาบัตรประชาชน ส่วนบรรทัดที่เหลือให้ขีดคร่อมไปทั้งหมด

4.5 ส่วนสมุดคู่มือจดทะเบียนจะยังไม่มี เพราะยังอยู่ที่ไฟแนนซ์ เราต้องไปปิดไฟแนนซ์ก่อน แล้วไฟแนนซ์จะไปดำเนินการโอนให้กับเจ้าของรถ หลังจากได้เล่มมาแล้วเจ้าของรถค่อยเอามาเซ็นตรงผู้ถือกรรมสิทธิ์พร้อมประทับตราบริษัท แล้วค่อยเอาไปให้ผู้ซื้ออีกที แต่จะใช้เงินใครปิดนั้นต้องให้ผู้ซื้อ ผู้ขายตกลงกันเอง แต่ทั่วไปควรจะเป็นเงินผู้ซื้อนะครับ

4.6 สำเนาหนังสือจดทะเบียนบริษัททุกหน้า พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องพร้อมประทับตราบริษัททุกหน้า

4.7 สัญญาซื้อขาย