วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552

การเลือก บ้านมือสอง

การเลือก บ้านมือสอง

ข้อแนะนำในการเลือกซื้อ บ้านมือสอง

การเลือกซื้อ บ้านมือสอง ที่ดีนั้น เน้นคุณสมบัติ 3 ประการ คือ ราคาถูกเพื่อนบ้านดี ทำเลเด่น

1.ดูทำเล บ้านมือสอง เน้นพื้นที่ในย่านที่กำลังมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือฟื้นฟูจากสภาพไม่น่าอยู่
2.สำรวจสภาพแวดล้อมและเพื่อนบ้านโดยเข้าไปพูดคุยสำรวจสอบถามเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ในสภาพแวดล้อมควรเน้นเลือกแหล่งที่ยังคงเจริญต่อไป และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อชีวิตประจำวัน เช่น ใกล้โรงเรียน ศูนย์การค้า ตลาด และโรงพยาบาล ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าน้ำจะต้องไม่ท่วมและไม่มีมลภาวะทางกลิ่น แสง และเสียง
3.สภาพ บ้านมือสอง เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะมูลค่า บ้านมือสอง นอกจากจะขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณสินค้าในตลาดแล้วยังขึ้นอยู่กับลักษณะตัว บ้านมือสอง เองด้วย ให้ท่านสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินด้วยตัวเอง เช่น ตรวจดูขนาดทรัพย์สินว่าเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์หรือเปล่า สภาพทรัพย์สิน การปรับปรุงทรัพย์สิน และการจัดการทรัพย์สิน
4.ซื้อ บ้านมือสอง ที่ราคาค่าเช่าต่ำกว่าราคาเช่าในท้องตลาด เพราะเราสามารถเพิ่มค่าเช่าได้
5.เลือกซื้อ บ้านมือสอง ที่มีเงื่อนไขเงินกู้สนับสนุน เช่น อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าตลาด หรืออัตราดอกเบี้ย 0% เพราะผลประโยชน์เหล่านี้คือส่วนลดจากราคาซื้อ บ้านมือสอง นั่นเอง
6.สอบถามเรื่องบริการชุมชนจากเพื่อนว่างานสารธาณูปโภคตลอดจนค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นอย่างไร การดูแลรักษาสภาพโครงการสม่ำเสมอ และเหมาะสมหรือไม่
7.ตรวจข้อมูลเกี่ยวกับการจำนอง บ้านมือสอง เดิมกับสถาบันการเงินให้ชัดเจนรวมถึงภารผูกพันและสัญญาเช่าเดิมที่มีอยู่กับผู้อาศัยในปัจจุบันเพระผู้ซื้ออาจมีปัญหาการส่งค่างวด หรือค่าบริหารทรัพย์สินส่วนกลางต้องคุยรายละเอียดในเงื่อนไขเหล่านี้ให้ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
8.ต้องคุยเรื่องค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอน บ้านมือสอง ที่จะซื้อ และภาษีให้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับภาระ
9.เปรียบเทียบกับราคาประเมินบ้านที่มีอยู่แล้ว เช่น ราคาซื้อขาย บ้านมือสอง ที่คล้ายคลึงในบริเวณที่ใกล้เคียง ราคาประเมินของกรมที่ดิน ของธนาคาร และบริษัทประเมิน
10.ต่อรองราคาให้ราคาต่ำมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การต่อรองราคาถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ต้องใช้เสมอ ก่อนที่จะทำสัญญาซื้อขายขั้นสุดท้าย ให้ระลึกไว้เสมอว่าเงินทุกบาทที่ท่านต่อรองซื้อได้ต่ำกว่าราคาเสนอขาย นั่นหมายถึงกำไรที่จะตกมาถึงท่านในที่สุดนั่นเอง
11.ตรวจสอบและขอหลักฐานเก่าๆ ที่เป็นส่วนประกอบของสัญญาเดิมเอาไว้ เพราะเอกสารเหล่านี้มีผลในการบังคับให้เจ้าของโครงการต้องปฏิบัติตามที่ตกลงหรือสัญญาที่เคยระบุไว้
12.การใช้บริการของบริษัทนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ จัดเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเลือกซื้อ บ้านมือสอง อย่างชาญฉลาดทางหนึ่ง เพราะเป็นช่องทางที่ทำให้มี บ้านมือสอง มาให้เลือกมากขึ้น และยังมีโอกาสให้มีคำแนะนำและการช่วยเหลือในด้านต่างฯ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ บ้านมือสอง ด้วย เช่น การพาไปดูบ้าน การติดต่อสถาบันการเงิน การหาราคาประเมิน ซึ่งบริการเหล่านี้มักไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือหากเสียก็น้อยมาก
อนุชา กุลวิสุทธิ์ : ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แบบมืออาชีพ

ขายบ้าน คุณเองก็ทำได้

ขายบ้าน คุณเองก็ทำได้
ปัญหาสำคัญของการลงทุนในบ้านและที่ดินคงหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องการขาดสภาพคล่อง เนื่องจากการขายบ้านแต่ละครั้งทำได้ยากมาก ต้องอดทน ต้องรอคอย และต้องใช้ความพยายามอย่างมาก บางคนใช้เวลาเป็นปี ๆ ก็ยังขายไม่ได้ เทคนิคการขายบ้านที่จะนำเสนอต่อไปนี้ จัดเป็นเคล็ดลับที่มีความน่าสนใจมาก เพราะได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่งมีลำดับขั้นตอนสำหรับนำไปปฏิบัติดังต่อไปนี้ 7 ขั้นตอน ขายบ้าน ให้ได้เร็ว...แถมได้ราคาดี

ขั้นตอนที่ 1 ทำความสะอาด ทาสีและซ่อมแซม เป็นขั้นตอนสำคัญอันดับแรกที่จะต้องมีการดำเนินการก่อนกาขายบ้านเสมอ วัตถุประสงค์ของการดำเนินการก็เพื่อเป็นการปรับปรุงตกแต่งภาพลักษณ์ของบ้านให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดใจมากขึ้น เพื่อให้บ้านพร้อมสำหรับการนำเสนอออกขายนั่นเองปกติ ไม่ว่าใครก็ตามล้วนชอบบ้านที่ดูแลใหม่ สดใส และมีชีวิตชีวา ดังนั้น หากเราสามารถทำให้บ้านสนองต่อความชื่นชอบของคนทั่วไปได้ ก็จะเท่ากับเป็นการขยายโอกาสในการขายบ้านให้เพิ่มมากขึ้นได้เป็นอย่างดี ข้อผิดพลาดประการ 1 ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงของการขายบ้านเสมอคือ คนส่วนใหญ่จะลังเลใจในการที่จะต้องเสียเวลาและเงินทองในการซ่อมทาสีและทำความสะอาดบ้าน จึงทำให้การขายบ้านเหล่านั้นต้องล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น ไปอย่างน่าเสียดาย โดยทั่วไปแล้ว จุดบกพร่องเล็ก ๆ น้อยๆ ในความรู้สึกของเจ้าของบ้าน มักจะกลายเป็นจุดบกพร่องที่มีในความสำคัญในสายตาของผู้ซื้อเสมอ อาทิรอยรั่วของก้อกน้ำ ปูนฉาบผนังที่แตกร้าว ประตูบ้านที่ส่งเสียงดัง สีกะเทาะ คาบสกปรกในบ้าน และคราบน้ำมันในครัวเป็นต้น ขอให้ท่านลองเปลี่ยนความคิดหันมาให้ความสำคัญกับจุดเล็กจุดน้อยเหล่านี้ดูท่านจะพบว่าสิ่งเหล่านี้มีส่วนช่วยให้การขายบ้านของท่านง่ายขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อขอให้ระลึกไว้เสมอว่าแม้ว่าการซ่อมแซมการตกแต่งเหล่านี้จะมีต้นทุนในการดำเนินการอยู่บ้างแต่หากละเลยไม่ทำแล้ว จะทำให้ราคาขายบ้านของท่านลดลงมากว่า 2 เท่า ของต้นทุนที่เสียไปยังไม่รวมต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการที่บ้านขายไม่ออกอีกไม่รู้เท่าไร
ขั้นตอนที่ 2 ประเมินราคาบ้าน เมื่อได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านให้กลายเป็นสินค้าที่ต้องตาต้องใจของผู้พบเห็นได้แล้ว ขั้นตอนสำคัญต่อมาก็คือการกำหนดราคาขายบ้านให้เหมาะสม แม่บ้านของท่าน จะมีคุณสมบัติที่ดีเด่นเพียงใดก็ตามแต่การขายบ้านจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับการกำหนดราคาขายเป็นสำคัญ ถ้าราคากำหนดไว้ต่ำเกินไป แม้จะช่วยให้ขายบ้านได้เร็วแต่ท่านก็จะสูญเสียรายได้ส่วนที่ท่านพึงได้รับไป แต่หากตั้งราคาขายสูงเกินไปผลที่ตามมาก็จะทำให้บ้านขายไม่ออกสักที ดังนั้น จุดที่เหมาะสมที่สุดก็คือจะต้องตั้งราคาขายให้สอดคล้องกับราคาตลาด ที่แท้จริงของบ้านจึงจะดี พูดง่าย ๆ ก็คือราคาตลาดแท้จริงมีความจำเป็นมากต่อการใช้ตั้งราคาขายบ้าน ดังนั้นขั้นตอนสำคัญในการขายบ้านอีกขั้นตอนหนึ่งที่ต้องทำก็คือ การจ้างผู้ประเมินราคามืออาชีพ ที่มีความน่าเชื่อถือมาช่วยในการประเมิน หาราคาตลาดแท้จริงให้กับผู้ขายได้ เพื่อนำมาใช้ตั้งราคาขายที่เหมาะสมต่อไป ผู้ขายบ้านยังสามารถใช้รายงานการประเมินราคาที่ได้จากผู้ประเมินราคานั้นมาใช้อ้างอิงประกอบการขายบ้านได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้ท่านมีความมั่นใจในการ ขายบ้าน เพิ่มขึ้นได้อย่างน่าประหลาดใจ เพราะสามารถลดการโต้แย้งเรื่องราคาขาย ฝั่งผู้ซื้อก็มั่นใจว่าตัวเองไม่ได้ซื้อบ้านราคาแพงเกินไป ส่วนในฝั่งผู้ขายก็ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะขายบ้านราคาถูกเกินไปคนมักมองข้ามความสำคัญของการประเมินราคาจึงเกิดข้อผิดพลาดในการกำหนดราคาขายบ้านขึ้นเสมอ ดังนั้นอย่าลังเลใจที่จะจ้างมืออาชีพมาประเมินราคาบ้านให้ เพราะค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดว่าถูกมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ทีได้รับ จะเห็นได้ว่าจากบ้านราคาหลักล้าน แต่ถ้าใช้จ่ายในการประเมินราคาจะอยู่ในระดับเพียงแค่หลักพันเท่านั้น

ขั้นตอนที่ 3 ช่วยหาแหล่งสนับสนุนการเงินให้ลูกค้าแต่เนิ่น ๆ การขายบ้านแตกต่างจากการขายสินค้าอื่น ๆ ตรงที่การขายสินค้าทั่วไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขเพียง 2 อย่าง คือ สินค้าต้องดี และราคาสมเหตุสมผล แต่สำหรับบ้านแล้วเงื่อนไขเพียงสองอย่างเข้างต้นกลับไม่เพียงพอที่จะทำให้การซื้อขายบ้านเกิดขึ้นได้ เพราะการซื้อขายบ้านส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งตัวกลางที่เป็นสถาบันการเงินมาช่วยสนับสนุนเงินทุนให้กับผู้ซื้อ เพ่อทำให้การซื้อขายเกิดขึ้นได้โดยทั่วไปแล้ว เงื่อนไขทางการเงินที่เป็นตัวกำหนดความเป็นไปได้ในการซื้อขายบ้านมีอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน คือ เรื่องแรกเกี่ยวกับเงินดาวน์ว่าจะต้องจ่ายมากน้อยแค่ไหน และเรื่อวที่สองเกี่ยวข้องกับจำนวนเงินที่ผ่อนชำระรายเดือน ถ้าเงื่อนไขทั้งสองเรื่อง สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานะภาพของผู้ซื้อเมื่อไหร่ โอกาสขายบ้านก็จะเปิดกว้างขึ้น ในทางตรงกันข้ามไม่สอดคล้องก็เท่ากับเป็นการปิดโอกาสการขายให้หยุดชงักลงในขั้นตอนนี้อย่างน่าเสียดาย กลยุทธ์การขายโอกาศการขายบ้านให้กว้างขึ้นจึงสามารถทำได้โดยการลดเงินดาวน์และยื่นรนะยะเวลาในการกู้ยืมเงินให้ยาวนานขึ้น ซึ่งจะต้องอาศัยการติดต่อเจรจาต่อรองเงื่อนไขกับสถาบันการเงินหลาย ๆ แห่งยกตัวอย่างเงื่อนไขการกู้ยืมอันหนึ่ง ซึ่งจัดว่าเกื้อหนุนให้การขายบ้านมีการคล่องตัวมากก็คือ เงื่อนไขการขายบ้านแต่ไม่มีเงินดาว์น และกู้ยืมได้นานถึง 30 ปี ซึ่งจะช่วยให้ภาระการผ่อนชำระรายเดือนลดต่ำลงได้มากที่สุด ขอให้ระลึกไว้เสมอว่ามีผู้ซื้อว่ามีผู้ซื้อบ้านน้อยมากในการเข้าใจในเรื่อง การกู้ยืมเงืนซื้อบ้าน ดังนั้นหากต้องการให้โอกาสในการขายบ้านมีมากขึ้น ท่านจำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือผู้ซื้อในเรื่องเหล่านี้ และให้ความกระจ่างกับลูกค้าว่าควรกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินใดดี เงินดาว์นและเงินผ่อนชำระรายเดือนต้องจ่ายเท่าไร คุณสมบัติของผู้ขอกู้เป็นอย่างไร อัตราดอกเบี้ยเท่าไร
ขั้นตอนที่ 4 ปรึกษาและขอคำแนะนำจากนักกฎหมาย ขั้นตอนนี้มีความสำคัญเนื่องจากจำนวนเงินในการซื้อขายบ้านสูงมากและขั้นตอนการดำเนินการกว่าจะได้เงินค่าขายบ้านจากลูกค้าล้วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามกฎหมายทั้งสิ้น ดังนั้นเพื่อช่วยให้การซื้อขายเป็นไปอย่างรัดกุมจะต้องปรึกษาขอคำแนะนำจากนักกฎหมายทุกครั้งกอ่นจะดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งนักกฎหมายในที่นี้อาจหมายถึงเพื่อน หรือคนรู้จักที่มีความรู้ทางกฎหมายก็ได้เคล็ดลับสำคัญในเรื่องนี้ก็คือ ทุกครั้งที่มีการทำสัญญาต่าง ๆ ระหว่างท่านกับผู้ซื้อจะต้องทำอย่างเป็นทางการหรือเป็นกิจจะลักษณะ และมีผู้รู้ทางกฎหมายอยู่ด้วยเสมอ เพราะนอกจากะเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงให้กับตัวท่านได้ทางหนึ่งแล้ว ยังช่วยให้การซื้อขายมีความน่าเชื่อถือในสายตาผู้ซื้อได้ด้วย
ขั้นตอนที่ 5 จัดเตรียมสัญญาการซื้อขายบ้านไว้ให้พร้อม ทุกครั้งที่มีการวางแผนที่จะ ขายบ้าน ท่านจะต้องมีการเตรียมสัญญาและใบเสร็จต่าง ๆ ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม เมื่อไรก็ตามที่มีคสามจำเป็นต้องทำสัญญากัน จะสามารถกระทำได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลาในการจัดหา
ขั้นตอนที่ 6 กระตุ้นการขาย ขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับการลงโฆษณาขายบ้านในส่วนต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการขายบ้านขึ้น ต้องเน้นเรื่องสื่อที่เข้าถึงกลุ่มผู้ซื้อบ้านจริง ๆ และควรพุ่งเป้าโฆษณาไปยังบริษัทขนาดใหญ่ ที่อยู่กล้บ้านเพื่อจัดลูกค้ากลุ่มพนักงานใหม่ และกำลังหาบ้านอยู่ อาศัยเป็นของตนเอง สำหรับเคล็ดลับในการโฆษณาขายบ้านในหนังสือพิมพ์รายวัน ที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง คือ เลือกลงโฆษณาเฉพาะวันเสาร์วันอาทิตย์ เท่านั้น และนัดเปิดบ้านให้ลูกค้าดูเฉพาะในช่วงบ่ายโมงถึงห้าโมงเย็นวันอาทิตย์ กลยุทธนี้นอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วยังเป็นการบริหารเวลาที่มีประสิทิภาพด้วย
ขั้นตอนที่ 7 การทำการขายบ้าน ในวันที่นัดลูกค้าเพื่อเปิดให้ดูบ้าน เทคนิคในการขายอันหนึ่งก็คือ จะทำสรุปสาระสำคัญของบ้านที่ขายในตลาดแผ่นเดียวแจกให้กับลูกค้าที่มาดูบ้านทุกราย เพื่อเป็นการลุ้นและตอกย้ำจุดน่าสนใจของบ้าน ให้กับลูกค้า ขอให้ระลึกไว้เสนอว่าช่วงบ่ายวันอาทิตย์ เป็นช่วงเวลาทอง ในการทำธุระกิจของท่าน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องมีการบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และอย่าเสียเวลากับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง กับการขายบ้านอันขาดโปรดระลึกไว้เสมอว่าการขายบ้านด้วยตัวเองหากทำได้แล้ว นอกจากจะช่วยให้ได้เงินจากการขายอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่ต้องเสียเงินค่านายหน้าให้ใคร ตัวท่านเองยังได้รับความภาคภูมิใจเป็ยของแถมอีกต่างหาก ท้ายนี้ขอให้ผู้อ่านโขคดีในการขายบ้านของท่านนะครับ แต่ถ้ายังขายไม่ได้ก็โอนภาระนี้ให้กับ ตัวแทนขายบ้านมือสอง ก็ดีนะครับ
อ.อนุชา กุลวิสุทธิ์

ซื้อบ้านใหม่หรือ บ้านมือสอง ดี

ซื้อบ้านใหม่หรือ บ้านมือสอง ดี
บ้านใหม่ VS บ้านมือสอง
การลงทุนในบ้านและที่ดิน นอกจากจะต้องตัดสินใจเลือกประเภทบ้านที่ใช้ในการลงทุนแล้ว ยังต้องตัดสินใจอีกว่า จะเลือกลงทุนในบ้านใหมหรือ บ้านมือสอง ดี ซึ่งทางเหลือในแต่ละลักษณะมีจุดเด่นและจุดด้อยในการลงทุนแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องเลือกให้สอดคล้องกับแผนการลงุทนของแต่ละบุคคล
การซื้อ บ้านมือสอง จัดเป็นทางเลือกที่น่าสนใจทางหนึ่งในการลงทุน ซึ่งการซื้อ บ้านมือสอง อาจมีเหตุผลดังนี้
- บ้านมือสอง ไม่ต้องการปลูกสร้างเอง เพราะต้องการที่อยู่อาศัยเร่งด่วน ไม่มีเวลาที่จะรอการปลูกสร้างได้ เกรงจะประสบปัญหาต่างๆ ในขบวนการปลูกสร้างและปลูกบ้านใหม่อาจจะมีราคาแพงกว่าการซื้อ บ้านมือสอง
- ไม่ต้องการซื้อบ้านจัดสรร เนื่องจากกำลังการซื้อไม่เพียงพอ หรือไม่ชอบระบบการซื้อแบบผ่อนส่ง
- อาจจะชอบทำเลที่ตั้งของ บ้านมือสอง ที่จะซื้อ
- ชอบลักษณะรูปแบบของ บ้านมือสอง ในกรณีนี้ บ้านมือสอง นั้นอาจจะเป็นเรือนไทยที่ถูกต้องตามลักษณะโบราณจริง ๆ ซึ่งอาจเป็นเรือนไทย หลังคาสูง จั่วแหลมหรือเรือนไทยลักษณะรัชกาลที่ 5 หรือรัชกาลที่ 6 ซึ่งก็เป็นรูปแบบเฉพาะ เช่น หลังคาปั้นหยา ช่องลมฉลุ เป็นต้น สำหรับผู้ที่จะซื้อ บ้านมือสอง ในลักษณะที่กล่าวนี้ มักเป็นผู้อนุรักษ์นิยมชื่นชมของเก่าที่หายาก
อย่างไรก็ดี การที่จะพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างบ้านใหม่และ บ้านมือสอง ว่าควรซื้อแบบไหนดีนั้น ไม่อาจตอบได้ชัดว่าอย่างใดจะดีกว่ากัน เพราะแต่ละกรณี มีข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบที่แตกต่างกัน สำหรับปัจจัยที่ผู้ซื้อน่าจะนำมาใช้พิจารณาเปรียบเทียบคุณลักษณะเด่นระหว่างบ้านใหม่และ บ้านมือสอง มีดังต่อไปนี้

คุณลักษณะเด่นของการซื้อบ้านใหม่
1.บ้านใหม่จะเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งใหม่ทั้งหมด ซึ่งอยู่ในสภาพดี ไม่ต้องเสียค่าซ่อมแซมอีกเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นบ้านใหม่จึงมักสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยได้มากกว่า
2. บ้านใหม่มักจะมีการออกแบบและใช้วัสดุก่อสร้าง ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทันสมัยกว่า ซึ่งทำให้มีโอกาสใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า และระยะเวลาการเสื่อมสภาพที่ยาวนานกว่า
3. บ้านใหม่จะให้โอกาสแก่ผู้เริ่มเข้าอยู่อาศัยเป็นครั้งแรก ในการที่จะจัดการตกแต่งบ้านได้ง่าย และทำให้สะดวกกว่า
คุณลักษณะเด่นของการซื้อ บ้านมือสอง
1. บ้านมือสอง มักจะมีการก่อสร้างที่ประณีต แข็งแรงทนทานดีกว่าบ้านใหม่ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างที่ทำด้วยไม้หรือปูนก็ตาม
2. บ้านมือสอง มักจะมีทำเลที่ตั้งดีกว่าบ้านใหม่ ๆ เนื่องจาก บ้านมือสอง มีการก่อสร้างมาตั้งแต่ที่ดินราคาไม่แพงมากนัก สภาพแวดล้อมของ บ้านมือสอง จึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อมมูลกว่า
3. บ้านมือสอง มักจะมีอุปปกรณ์บางอย่างที่ติดอยู่กับตัวบ้านให้แล้ว ซึ่งเจ้าของเดิมได้ทำไว้ จึงไม่ต้องไปจัดหาใหม่ และถ้ามีการคิดราคาสิ่งของเหล่านั้นก็จะได้ราคาถูกกว่าราคาตลาดมาก
4. บ้านในโครงการสร้างใหม่ มักจะมีสาธารณะประโภคสาธารณูปการยังไม่พร้อมสมบูรณ์ บางครั้งต้องรอให้มีการก่อสร้างต่อในเฟสสอง เฟสสาม ทำสภาพแวดล้อมในชุมชนไม่ดีนัก ตรงข้ามกับ บ้านมือสอง ชุมชนจัดสรรที่สร้างเสร็จเรียบร้อนมานานพอสมควรแล้วเช่น 3-4 ปี ชุมชนเหล่านี้จะค่อนข้างมีสภาพแวดล้อมที่ดีและสมบูรณ์
5. สามารถรู้ได้อย่างชัดเจนว่าสภาพแวดล้อมทางสังคม เพื่อนบ้านเรือนเคียงและผู้อยู่อาศัยในชุมชนว่าเขาเป็นใคร เป็นคนกลุ่มไหน สำหรับการซื้อบ้านใหม่ในโครงการจัดสรรผู้ซื้อมักจะไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ซื้อบ้านที่ติดกับตน แต่ บ้านมือสอง ผู้ซื้อสามารถสอบถามทำความรู้จักกับผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงได้ เพื่อหยั่งรู้ถึงอาชีพการงาน รสนิยม อัธยาศัยไมตรี ว่าเป็นประการใด สามารถจะพึ่งพาอาศัย เกื้อกูลกันได้หรือไม่ หรือเมื่ออยู่ใกล้กันแล้วจะมีโอกาสเกิดปัญหากระทบกระทั่งกันได้หรือไม่ ในบางครั้งผู้ซื้อพบว่ามีผู้ขาย บ้านมือสอง ที่อยู่ใกล้กับญาติพี่น้อง หรือเพื่อนสนิทมิตรสหายที่อยู่อาศัยมาก่อน ก็จะเป็นเงื่อนไขบวกประการหนึ่งในการตัดสินใจซื้อบ้านมือสอง

ข้อแนะนำในการซื้อ บ้านมือสอง
ข้อสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อ บ้านมือสอง นอกจากจะเปรียบเทียบคุณลักษณะเด่นดังกล่าวมาแล้ว ก็ควรจะพิจารณาตรวจสอบรายละเอียดด้านอื่น ๆ อีก ได้แก่
1. ดูสภาพของ บ้านมือสอง อายุบ้าน ดูว่าปลูกมานานกี่ปีแล้ว อุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ หลอดไฟตามดวงโคมต่าง ๆ ชำรุดเสียหายบ้างหรือเปล่า สายไฟฟ้าเสื่อมสภาพแล้วหรือยัง น้ำปะปาขึ้นสนิมหรือแตกรั่วบ้างหรือไม่ หากลักษณะโครงสร้างเก่าแก่ไม่แข็งแรงและจะต้องซ่อมแซมอีกมากแล้ว จะทำเกิดปัญหาหนักในเรื่องค่าใช้จ่าย ด้วยเหตุนี้ลักษณะสภาพ บ้านมือสอง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องให้ความสำคัญในการพิจารณาตัดสินใจซื้อตามปกติแล้ว บ้านมือสอง จะมีการเสื่อมราคาตามระยะเวลายิ่งถ้าสภาพแวดล้อมเป็นทำเลที่มีแหล่าชุมชนแออัดเกิดขึ้น ราคาของ บ้านมือสอง จะตกลงอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นหากจะลงทุนเลือกซื้อ บ้านมือสอง ควรหาแหล่งที่คิดว่าจะยังคงเจริญต่อไปในภายหน้า
2. ควรพิจารณาสภาพแวดล้อม บ้านมือสอง นั้น ๆ ว่าอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อชีวิตประจำวันหรือไม่ เช่น ใกล้โรงเรียน ศูนย์การค้า ตลาด โรงพยาบาล ฯลฯ เพื่อการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายในอนาคต
3. กรณีที่จะซื้อบ้านที่ดินพร้อมบ้านจัดสรร ทาวน์เฮาส์ หรืออาคารพาณิชย์ ควรตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยว่า ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของโครงการ ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารแล้วหรือไม่ โดยตรวจสอบได้จากกรมโยธาการ หรือสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วแต่กรณี
4. พิจารณาชุมชน โดยพิจารณาเพื่อนบ้านที่อยู่บริเวณไกล้เคียงว่าเป็นอย่างไร กรณีที่บ้านอยู่ในโครงการจัดสรร ควรสอบถามเรื่องบริการชุมชนจากเพื่อนบ้าน ว่างานสาธารณูปโภคตลอดจนค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นอย่างไร การดูแลรักษาสภาพโครงการสม่ำเสมอ และเหมาะสมหรือไม่
5. ราคาของ บ้านมือสอง ที่เสนอขาย รวมและไม่รวมอะไรบ้าง เช่นค่าธรรมเนียมโอนบ้าน ค่าภาษีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ (ปกติจะเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ขาย) ภาษีธุรกิจเฉพาะ และค่าอากรแสตมป์
6. กรณีที่คุณต้องการกู้ซื้อ บ้านมือสอง ต้องเตรียมเรื่องขออนุมัติขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านด้วย
7. ตรวจซ้ำกับการเวนคืน แม้ว่าจะอุ่นใจได้ว่ากว่าจะกว่าจะสร้างจนบ้านเสร็จให้เห็นมีการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ควรประมาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านที่อยู่ในทำเลล่อแหลม เช่น ใกล้สามแยก เป็นต้น บ่อยครั้งที่เจ้าของบ้านเดิมระแคะระคายเรื่องเกี่ยวกับการเวนคืน เลยพยายามย่องถ่ายทรัพย์สินของตนเอง ก่อนที่จะมีกฎหมายห้ามการขายและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
8. ตรวจสอบว่า ผู้ที่จะขาย บ้านมือสอง นั้นมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยนั้นจริงหรือไม่ หมายถึงการมีชื่อเป็นเจ้าของ หากเป็นการมอบหมายอำนาจต้องดูให้ละเอียด เช่น กรณีการซื้อจากบริษัทนายหน้าขาย บ้านมือสอง
9. ตรวจข้อมูลเกี่ยวกับการจำนองหรือการเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้จากธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น ๆ โดยทั่วไปแล้วการซื้อ บ้านมือสอง ที่ติดจำนองจะต้องผ่านกระบวนการไถ่ถอนการจำนองมาก่อน และค่อยโอนกรรมสิทธิ์กัน ขั้นตอนเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการคุยรายละเอียดกันตั้งแต่เริ่มแรก โดยทั่วไปสถาบันการเงินจะมีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทางด้านนี้ การดูแลเรื่องนี้ตั้งแต่ขั้นตอนการตกลงซื้อขายจะช่วยให้ไม่ต้องเผชิญปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการโอนสิทธิและอื่น ๆ
10. สำหรับอาคารชุดจำเป็นต้องขอดูเอกสารการจดทะเบียนอาคารชุดนิติบุคคลอาคารชุดและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตลอดจนรายการทรัพย์สินส่วนกลางและการบริการต่าง ๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายส่วนกลางอย่างละเอียด เพราะจะได้เป็นการเตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ ในการที่จะต้องเข้ามาเป็นส่วนร่วมในการบริหารอาคารชุดในอนาคต
11. การตรวจสอบสัญญาจะซื้อขายยังมีความจำเป็นแม้ว่าสัญญามาตฐานจะมีการใช้กันมากขึ้นแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ภาษี และอื่น ๆ จะต้องมีการตกลงไว้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร และควรจะเก็บสัญญาจะซื้อจะขายเอาไว้ด้วย แม้ว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์กันแล้วก็ตามที เพื่อป้องกันปัญหาภายหลัง
12. ตรวจสอบและเก็บเอกสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของสัญญาเอาไว้ ไม่ว่าจะซื้อจากบริษัทเจ้าของโครงการโดยตรงหรือซื้อต่อจากบุคคลอื่นก็ตาม ทั้งนี้เพราะเอกสารเหล่านี้มีผลทางกฎหมายในการบังคับให้เจ้าของจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงหรืสัญญาที่เคยระบุไว้
อนุชา กุลวิสุทธิ์ : ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แบบมืออาชีพ